วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน













การเขียนรายงาน คือ การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย

1. ความหมายและความสำคัญของรายงาน รายงาน คือ การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย เป้าหมาย ผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ

1.1 เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน

1.2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล

1.3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

1.4 เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง

1.5 เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา

1.6 เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น



2. ประเภทของรายงาน

2.1 รายงานธรรมดา หรือรายงานทั่วไป เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

2.2 รายงานทางวิชาการ เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ 2.2.1 ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ

2.2.2 วิทยานิพนธ์ เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย



ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน

- หน้าปก อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ

- หน้าชื่อเรื่อง ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน

- คำนำ ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ

- สารบัญ หมายถึง บัญชีบอกบท

- สารบัญตาราง ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่" มาเป็น "ตารางที่"

- สารบัญภาพประกอบ เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น

- ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท

- อัญประกาศ เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน

- เชิงอรรถ คือ ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ

- ตารางภาพประกอบ ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย

- บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า

- ภาคผนวก คือ ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น - ดรรชนี คือ หัวข้อย่อย หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
3. การเขียนรายงาน

1. ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น

2. ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

3. ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ

4. เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน

5. ข้อมูล ตัวเลข หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง

6. ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น 7. การเขียนบันทึกรายงาน ถ้าเป็นของทางราชการ ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน

8. เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ

วรรณกรรมท้องถิ่น

ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่บันทึกเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ การประพฤติปฏิบัติของประชาชนธรรมดาทั่วไป ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
วัฒนธรรมพื้นบ้านมีขอบข่ายกว้างขวาง โดยตามรูปแบบได้เป็น 3 ประเภท

ดังนี้
๑. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทต้องอาศัยภาษา ได้แก่
๑.๑ นิทานพื้นบ้าน เช่น เทพนิยาย นิทนประจำถิ่น นิทานวีรบุรุษ นิทานเกี่ยวกับสัตว์ นิทานอธิบายเหตุ นิทานตลกขบขัน นิทานร่าเริง
๑.๒ ภาษาถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมการพูดจาและการตั้งชื่อ เช่น ชื่อบ้านนามเมือง ที่มีความเชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง
๑.๓ บทภาษิต คำคม คำพังเพย
๑.๔ ปริศนาคำทาย
๑.๕ คำพูดที่คล้องจองกัน เช่น คำกลอนสำหรับเด็ก
๑.๖ เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงพื้นบ้านที่ร้องด้วยภาษาถิ่น มีทำนองเป็นของท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงขับร้อง เป็นเรื่องราว
๒. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทที่ไม่ต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ได้แก่
๒.๑ สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน
๒.๒ ศิลปะพื้นบ้าน
๒.๓ หัตถกรรมพื้นบ้าน
๒.๔ เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน
๒.๕ อาหารพื้นบ้าน การบริโภคและนิสัยของชาวบ้าน
๒.๖ อากัปกิริยาของชาวบ้าน เช่น ท่าทางการแสดงความอาย อาการโกรธ อาการตอบรับหรือปฏิเสธ และอากัปกิริยาทั่ว ๆ ไป
๒.๗ ดนตรีพื้นบ้าน
๓. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภท ประสมประสาน
๓.๑ ความเชื่อ ได้แก่ การถือโชคลาง คาถาอาคม หารทำเสน่ห์และเครื่องรางของขลัง
๓.๒ ละครชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน และระบำของชาวบ้าน
๓.๓ ประเพณี และพิธีกรรมพื้นบ้าน
๓.๔ งานมหกรรม พิธีการฉลอง
๓.๕ การเล่น หรือกีฬาพื้นบ้าน รวมทั้งการเล่นของเด็ก
๓.๖ ยากลางบ้าน
จากการแบ่งประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านสัมพันธ์กับชีวิตความเป็ยอยู่ทุกอย่างของคนในท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต้องแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมือง
ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง วรรณกรรมี่เป็นมุขปาฐะ (ใช้ถ้อยคำเล่าสืบต่อ ๆ กันมา) และลายลักษณ์(บันทึกในวัสดุต่าง ๆ เช่น ในใบลาน และบันทึกในกระดาษที่เรียกว่า สมุดไทย สมุดข่อย เป็นต้น) วรรณกรรมเหล่านี้ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคต่าง ๆ ของไทย โดยคนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา รูปแบบฉันทลักษณ์เป็นไปตามความนิยมของคนท้องถิ่น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ๆ วรรณกรรมท้องถิ่นมีอยู่ในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ท้องถิ่นใต้ ท้องถิ่นเหนือ ท้องถิ่นอีสาน ท้องถิ่นภาคกลาง
ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่นมีลักษณะที่สรุปได้ ดังนี้
๑. ชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้สร้างสรรค์ คัดลอกและเผยแพร่
๒. กวีผู้ประพันธ์ ส่วนมากคือ พระภิกษุและชาวบ้าน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง
๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาประจำถิ่น เป็นภาษาที่เรียบบง่ายมุ่งการสื่อความหมายกับผู้อ่าน
สำนวนโวหารเป็นของท้องถิ่น
๔. เนื้อเรื่องมุ่งให้ความบันเทิงใจ บางครั้งได้สอดแทรกคติธรรมของพุทธศาสนา
๕. ค่านิยมยึดปรัชญาแบบชาวพุทธ
ประวัติความเป็นมาในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น
การศึกษาวรรณกรรมไทย (รวมทั้งวรรณคดี หรือวรรณกรรมแบบฉบับ) เริ่มศึกษาเมื่อสมัย
รัชกาลที่ ๕ โดยมีการตั้งโบราณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รวบรวม ชำระ ซ่อมแซมวรรณกรรมที่กระจัดกระจาย โดยผู้รวบรวมคือ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ขุนนาง ซึ่งรู้จักแต่วรรณคดีหรือวรรณกรรมในราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยดำเนินการต่อจากโบราณคดีสโมสร โดยได้จัดประเภทของวรรณกรรมและพิจารณาว่าวรรณกรรมใดสมควรยกย่อง แต่การศึกษาก็อยู่ในวงจำกัด การศึกษาจึงจำกัดอยู่เพียงในวรรณกรรมที่ชำระได้ในครั้งนั้นเท่านั้ น ไม่ได้ศึกษาวรรณกรรมอื่น ๆ ให้กว้างขวางออกไป วรรณกรรมชาวบ้าน ชาววัดจึงถูกทอดทิ้งอยู่เป็นนาน
เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๒ สถาบันการศึกษาระดับอุดมได้นำศึกษา ได้แนวคิดจาสกตะวันตกที่นิยมศึกษาเรื่องราวทางพื้นบ้าน และเสนอเป็นวิทยาการในหลักสูตร ที่เรียกชื่อว่า Folklore ใช้ชื่อว่า “คติชาวบ้าน” บ้าง “คติชนวิทยา” บ้าง จากการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวคิด คตินิยม ปรัชญาชีวิตของสังคมในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย มีความแตกต่างจากปรัชญาชีวิตและสังคมของภาคกลางเกือบสิ้นเชิง จึงทำให้มีการหันมาศึกษาวรรณกรรมในแต่ละท้องถิ่นมากขึ้น จนต่อมาได้มีการจัดรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)
การเปรียบเทียบวรรณกรรมแบบฉบับกับวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมแบบฉบับ(วรรณคดี)
วรรณกรรมท้องถิ่น
๑. ชนชั้นสูง เจ้านาย ข้าราชสำนักมีสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของ
-ผู้สร้างสรรค์ รวมถึงจดบันทึก คัดลอก
-ผู้ใช้(อ่าน ฟัง)
-อนุรักษ์
-แพร่หลายในราชสำนัก
๒. กวี ผู้ประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต หรือเจ้านาย ฉะนั้นมโนทัศน์ ค่านิยมและทัศนะที่เห็นสังคมสมัยนั้นจึงจำกัดอยู่ในรั้วในวัง หรือมีการสอดแทรกสภาวะสังคมก็เป็นแบบมองเห็นสังคมอย่างเบื้อบนมองลงมา
๓. ภาษาและกวีโวหารนิยมการใช้คำศัพท์อุดมไปด้วย คำบาลีสันสกฤต โดยเชื่อว่าเป็นการแสดงภูมิปัญญาของกวี แพรวพราวไปด้วยกวีโวหารที่เข้าใจยาก
๔. เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งในการบอพระเกียรติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ต่างก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการผ่อนคลาย ทางด้านอารมณ์และศาสนาอยู่ไม่น้อย
๕. ค่านิยมอุดมคติยึดปรัชญาชีวิตแบบสังคมชาวพุทธ และยกย่องสถาบันกษัตริย์อีกด้วย
๑. ชาวบ้านทั่วไปมีสิทธิเป็นเจ้าของ คือ
-ผู้สร้างสรรค์ ผู้ใช้
-อนุรักษ์
-แพร่หลายในหมู่ชาวบ้าน


๒. กวีผู้ประพันธ์ เป็นชาวพื้นบ้าน หรือพระภิกษุสร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมา ด้วยใจรักมากกว่า “บำเรอท้าวไท้ ธิราช ผู้มีบุญ” ฉะนั้นมโนทัศน์เกี่ยวกับสภาวะของสังคมจึงเป็นสังคมชาวบ้านแบบประชาคมท้องถิ่น
๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาาาง่าย ๆ เรียบ ๆ มุ่งการนื่อความหมายเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ละเว้นคำศัพท์บาลีสันสกฤต โวหารนิยมสำนวนที่ใช้ในท้องถิ่น
๔. เนื้อหา ส่วนใหญ่มุ่งในทางระบายอารมณ์ บันเทิงใจ แต่แฝงคติธรรมทางพุทธศาสนา แม้ว่าตัวเอกของเรื่องจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม แต่มิได้มุ่งยอพระเกียรติมากนัก
๕. ค่านิยมและอุดมคติโดยทั่วไปเหมือนกับวรรณกรรมแบบฉบับ ยกย่องสถาบันกษัตริย์แต่ไม่เน้นมากนัก
คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่นมีประโยชน์มากมายหลายประการดังนี้
๑. ให้ความบันเทิงใจแก่ชุมชน เช่น ขับเสภาในภาคกลาง เล่าค่าวหรือขับลำนำภาคเหนือ อ่านนหังสือในบุญเงือนเฮือนดีในภาคอีสาน การสวดหนังสือและสวดด้านของภาคใต้
๒. ให้เข้าใจในค่านิยม โลกทัศน์ของแต่ละท้องถิ่นโดยผ่านทางวรรณกรรม
๓. เข้าใจวัฒนธรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น
๔. ก่อให้เกิดความรักถิ่น หวงแหนมาตุภูมิ และรักสามัคคีในท้องถิ่นของตน



ที่มา : ธวัช ปุณโณทก วรรณกรรมท้องถิ่น สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,2525

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย

สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย






กงกำกงเกวียน
ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแกเขาอย่างไร
ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกลกำกงเกวียน










กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน
ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย










กระดังงาลนไฟ
หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจ
ผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน







กระดี่ได้น้ำ
ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ





กระต่ายขาเดียว, กระต่ายสามขา
ยืนกรานไม่ยอมรับ





กระต่ายตื่นตูม
ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน






กระต่ายหมายจันทร์
ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า






กำขี้ดีกว่ากำตด
ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย


กินน้ำไต้ศอก
จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมล
ให้แก่เมียหลวง)




กาคาบพริก
ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแดง


กินบนเรือน ขี้บนหลังคา
คนเนรคุณ

กินปูนร้อนท้อง
ทำอาการมีพิรุธเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง




เกลือเป็นหนอน, ไส้เป็นหนอน
ญาติมิตร สามาภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้านคิดคดทรยศ





















วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วรรณคดีไทย

วรรณคดีไทย



มหาชาติคำหลวง หรือ มหาเวสสันดรชาดก
เดิมเป็นภาษามคธหนึ่งพันคาถา แปลเป็นไทยมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นหลักของหนังสือไทยเรื่องหนึ่ง สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฎบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ทั้ง ๑๐ อย่าง ยาว ๑๓ กัณฑ์ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิตในกรุงศรีอยุธยา ร่วมกันแปลแต่งมหาชาติขึ้นโดยวิธีตั้งสลับภาษามคธบาทหนึ่ง แปลเป็นไทยวรรคหนึ่ง เป็นฉันท์บ้าง โคลงบ้าง เพื่อความไพเราะและใกล้เคียงภาษาเดิม จึงเป็นหนังสือซึ่งนับถือว่า แต่งดีมาแต่ครั้งกรุงเก่า












สังข์ทอง

เป็นนิทานในคัมภีร์ปัญญาสชาดกเรียก สุวัณณสังขชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงพระราชทานนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง คงได้เลือกบทละครครั้งกรุงเก่ามาเป็นโครง เพราะมีกลอนเดิมหลายแห่งที่ทรงโปรด จนเอามาใช้ในพระราชนิพนธ์ ซึ่งกลอนเดิมน ี้คงจะเป็นของนับถือ และนิยมกันว่าแต่งเป็นอย่างดี ในครั้งกรุงศรีอยุธยาด้วย









ลิลิตพระลอ



พระลอเป็นนิยายถิ่นไทยทางภาคเหนือ มีเค้าโครงเรื่องว่าเกิดในแคว้นลานนา แต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดลิลิต (ใช้โคลงและร่ายคละกันไป) มีข้อความกระทัดรัด ไพเราะ รักษาข้อบังคับ ฉันทลักษณ์เคร่งครัด วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต ทั้งเนื้อเรื่อง กระบวนร้อยกรอง และภาษาที่ใช้ เป็นครูด้านแบบฉบับของลิลิตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา เป็นวรรณคดีบริสุทธิ์ตรงที่ว่า ได้พรรณนาความรักทุกประเภทอันมนุษย์จะพึงมีไว้










มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
เป็นนิทานชาดก ในตำรามหาวัสดุของอินเดียโบราณฝ่ายมหายาน เรื่องสุธนชาดก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระสุธนคำฉันท์ ส่วนบทละครเรื่องมโนห์รา เห็นได้ว่าไม่เป็นกลอนแปดแท้ เช่นบทละครสามัญแต่ปนกาพย์ ทำนองกลอ นเป็นอย่างที่ละครมโนห์ราใช้กันอยู่ทางปักษ์ใต้ สันนิษฐานว่าบทละครมโนห์ราเป็นบทละครชิ้นแรกในกรุงเก่า






















































































วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ระดับของภาษาและคำราชาศัพท์

ระดับของภาษาและคำราชาศัพท์
ระดับภาษาแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ .....
๑ ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น ๒ ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ .....
๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนให้ความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพระราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย ดังตัวอย่างจากคำประกาศในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าดังนี้ "ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช จงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติทั้งปวง อริราชศัตรูภาบนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็น แก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา" (ภาวาส บุนนาค,"ราชาภิสดุดี." ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.) .....
๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างภาษาระดับมาตรฐานราชการในบทความวิชาการ "บทละครไทยเป็นอีกรูปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทย บทละครของไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดง รูปแบบที่นิยมกันมาแต่เดิมคือบทละครรำ ต่อมามีการปรับปรุงละครรำให้ทันสมัยขึ้นตามความนิยมแบบตะวันตก จึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับรูปแบบละครจากตะวันตกมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย ทำให้การละครไทยพัฒนาขึ้น โดยมีกระ บวนการแสคงที่แตกต่างไปจากละครไทยที่มีอยู่ มาเป็นละครร้อง ละครพูด และละครสังคีต" (กันยรัตน์ สมิตะพันทุ, "การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว."ในบท ความ วิชาการ ๒๐ ปี ภาควิชาภาษาไทย,หน้า ๑๕๘.) : พรประภา พลวิชัย 2/11B - 13/11/2005 10:12
.....

๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถจัดเป็น ๓ ระดับ คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก .....
๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่าการใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็นอย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น ชีวประวัติ เป็นต้น

๒.๒ ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียนนวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว อละมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบ ปะปนปยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยายหรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น

ราชาศัพท์ .....
คำราชาศัพท์ ความหมายของคำราชาศัพท์ตามรูปศัพท์ หมายถึงหลวง หรือ ศัพท์ราชการ ใช้แก่บุคคลที่ควรเคารพนับถือตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ ตลอดจนข้าราชการและบุคคลสามัญทั่วไปด้วย ดังนั้น "ราชาศัพท์ก็คือระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล" เป็นถ้อยคำที่เราใช้ยกย่องเชิดชูบุคคลผู้เจริญด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือเป็นการแสดงความเคารพนับถือ เช่น ต่อพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อเทพเจ้าและต่อพระเป็นเจ้าแม้ในศาสนาอื่นๆเพื่อความเป็นระเบียบทางภาษาของเรานั้นเอง ๑ ที่มาของราชาศัพท์ .....
๑.๑ คำไทย (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย) .....
๑.๒ คำประสม (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม) .....
๑.๓ คำยืมจากภาษาอื่น (คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาอื่น)
.....มีวิธีการดังนี้ ....
.๑ ให้นำคำ "พระ" หรือ "พระราช" นำหน้านาม เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น .....ประเภทเครื่องใช้ทั่วไป เช่น พระราชวัง(บ้าน)พระแสง(ศาสตราวุธ)พระอู่(เปล)พระที่นั่ง(เรือน)พระเก้าอี้ พระแท่น(เตียง)พระที่(ที่นอน)พระยี่ภู่(ที่นอน,ที่นั่ง,ฟูก,นวม) เป็นต้น .....ประเภทอวัยวะต่างๆ เช่น พระเจ้า(ศีรษะเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)พระถัน, พระเต้า(นม) เป็นต้น .....ประเภทเครือญาติ เช่น พระพี่นาง พระน้องนาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลุง พระเจ้าอา เป็นต้น .....ประเภทบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศื เช่น พระพี่เลี้ยง พระนม เป็นต้น .....
๒ ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงรับ ทรงทำ ทรงขอบใจ ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงตัดสิน ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงสั่งสอน ทรงออกกำลังกาย ทรงเล่นกีฬา ทรงขับ(รถยนต์) ทรงถือ ทรงจับ ทรงวาด เป็นต้น .....
๓ ใช้ "ทร" นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยา เช่น ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงช้า(ขี่ช้าง) ทรงเรือใบ(เล่นเรือใบ) เป็นต้น .....
๔ ใช้คำ "ต้น" หรือ "หลวง" ประกอบข้างท้ายคำไทย หรือราชาศัพท์ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น รถหลวง เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น .....
๑.๒ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม การนำคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในภาษาประสมกันทำให้เกิดเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้น นับเป็นวิธีหนึ่งของการสร้างคำขึ้นใหม่ การสร้างคำราชาศัพท์วิธีหนึ่งก็ใช้การนำคำที่มีอยู่แล้วมาประสมกันเช่นเดียวกัน คำที่นำมาประสมกันนั้น อาจเป็นคำไทยประสมกับคำไทย หรือ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น

๑ คำไทยประสมกับคำไทย เช่น รับสั่ง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น
๒ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ คำที่เกิดขึ้นใหม่จะใช้เป็นคำนามและคำกริยา เช่น
๑ ใช้เป็นคำนาม เช่น ห้องเครื่อง(ครัว) เครื่องคาว(ของกิน,กับข้าว) เครื่องหวาน(ของหวาน) เครื่องว่าง(ของว่าง) เครื่องสูง เครื่องต้น(เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์,สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย) ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกษา ข้อพระกร ฝ่าพระบาท ห้องพระสำอาง รัดพระองค์(เข็มขัด) ดวงพระชะตา พานพระศรี(พานหมาก)
๒ ลายพระราชหัตถ์ (จดหมายที่เขียนด้วยมือ) ใช้เป็นคำกริยา เช่น เทียบเครื่อง(ชิมอาหาร) ตั้งเครื่อง(ตั้งของรับประทาน) ลาดพระที่(ปูที่นอน) เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท(ไปหาไปพบ) หายพระทัย(หายใจ) ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร เข้าในที่พระบรรทม สิ้นพระชนม์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไธย(ลงชื่อ) แย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม) เป็นต้น .....๑.๓ คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษา อื่น ภาษาต่างประเทศที่เรารับมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ได้แก่ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร โดยวิธี - เติมคำ "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้าคำภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็น คำนาม - เติมคำ "ทรง" หรือ "ทรงพระ" เข้าข้างหน้าภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็นคำกริยาส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ยืมภาษามลายู ภาษาชวา แต่มีน้อยคำ

๔. วิธีใช้ราชาศัพท์ .....การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีวิธีการใช้ดังนี้ ..........๔.๑ ใช้เป็นราชาศัพท์ได้ทันที เช่น ประทาน ผนวช ทูล ถวาย ประทับ เสด็จ บรรทม ประชวร สวรรคต พิโรธ เป็นต้น ..........๔.๒ ใช้คำ " พระบรม " หรือ " พระบรมราช " นำหน้าคำนามที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติยศ เช่น พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมโอรสาธิราช พระบรมราโชวาท พระปรมภิไธย พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชโองการ พระบรมราชานุญาต ฯลฯ ..........๔.๓ ใช้คำ " พระราช " นำหน้าคำที่มีความสำคัญน้อยกว่าคำที่กล่าวมาในข้อ ๒ เช่น คำนามที่แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น พระราชวงศ์ พระราชบิดา พระราชชนนี พระราชโอรส พระราชธิดา ฯลฯ ..........คำนามทั่วๆ ไปที่มีความสำคัญรองลงมาตลอดจนอาการนามต่างๆ เช่น พระราชวังบางประอิน พระราชเสาวนีย์ พระราโชวาท พระราชปฏิสันถาร พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา พระราชประเพณี พระราชโทรเลข พระราชพิธี พระราชกุศล พระราชดำริ พระราชประสงค์ พระราชปรารภ พระราชานุเคราะห์ ฯลฯ ..........๔.๔ ใช้คำ " พระ " นำหน้าคำนามทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับ .....เครื่องใช้ทั่วๆ ไป เช่น พระที่ พระแท่นบรรทม พระฉาย พระสุคนธ์ พระอู่ ฯลฯ .....อวัยวะส่วนต่างๆ เช่น พระพักตร์ พระศอ พระกรรณ พระหัตถ์ พระกร ฯลฯ .....นามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระโรค พระโชค พระเคราะห์ พระบารมี พระชะตา ฯลฯ .....บุคคลแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ เช่น พระนม พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ (ผู้บวชใหม่) พระกรรมาจาจารย์ (คู่สวด) ฯลฯ ...........๔.๕ ใช้คำธรรมดาที่บอกลักษณะย่อยๆ ให้ชัดเจนไว้หน้าคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น .....ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา .....ขอบพระเนตร " ขอบตา .....ช่องพระนาสิก " ช่องจมูก .....ฝ่าพระหัตถ์ " ฝ่ามือ .....หลังพระชงฆ์ " น่อง .....ฉลองพระหัตถ์ " ช้อน .....ถุงพระบาท " ถุงเท้า .....ห้องพระสำอาง " ห้องแต่งตัว, ห้องสุขา .....ซับพระองค์ " ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ..........๔.๖ ใช้คำ " ทรงพระ " หรือ " ทรงพระราช " นำหน้าคำนามทั่วไป และคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นคำกริยา เช่น .....ทรงพระเมตตา หมายถึง มีเมตตา .....ทรงพระอุตสาหะ " มีอุตสาหะ .....ทรงพระดำริ " มีดำริ .....ทรงพระประชวร " ป่วย .....ทรงพระกรุณา " กรุณา .....ทรงพระพิโรธ " โกรธ .....ทรงพระสรวล " หัวเราะ .....ทรงพระราชนิพนธ์ " แต่งหนังสือ .....ทรงพระราชสมภพ " เกิด ฯลฯ ..........๔.๗ ใช้คำ " ทรง " นำหน้าคำธรรมดาเพื่อให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ......๑. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงขอ ทรงรับ ทรงตัดสิน ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงวาด ทรงถือ ทรงพับ ทรงใช้ ทรงจุด (ธูปเทียน) ฯลฯ ......๒. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย เพื่อใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงช้าง ทรงเรือ ทรงม้า ทรงเรือใบ ฯลฯ ......๓. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่มีลักษณะเป็นสำนวน ทำให้มีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น .....ทรงธรรม หมายถึง ฟังเทศน์ .....ทรงบาตร " ตักบาตร .....ทรงกล้อง " สูบกล้อง .....ทรงพระโอรสมวน " สูบบุหรี่ .....ทรงฉลองพระเนตร " สวมแว่นตา .....ทรงเครื่อง " แต่งตัว .....ทรงเครื่องใหญ่ " ตัดผม .....ทรงเครื่องใหญ่ " ถือไม้เท้า ฯลฯ ..........๔.๘ ใช้คำ " หลวง " และ " ต้น " ประกอบท้ายศัพท์ทั้งที่เป็นคำไทยและคำราชาศัพท์ให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น .....เครื่องต้น (เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงให้และเสวย) พระแสงปืนต้น เรือหลวง รถหลวง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น ฯลฯ .....***หมายเหตุ*** การใช้ " ต้น " และ " หลวง " นั้นต้องสังเกต เพราะคำที่มี " ต้น " และ " หลวง " ประกอบอยู่ด้วยไม่ใช่คำราชาศัพ์ ทุกคำใช้เป็นคำธรรมดาก็มี เช่น ถนนหลวง ทะเลหลวง สนามหลวง ภรรยาหลวง ต้นห้อง ต้นเค้า ต้นคอ ต้นคิด เป็นต้น

การแต่งกลอนสุภาพ
ข้อบังคับของกลอนสุภาพ
ตัวอย่าง แสดงกลอน 2 บท
กลอนสุภาพพึงมีจำกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ
ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน
เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกาน์ครบครันฉันนี้เอย

แผนผัง คณะ ประกอบด้วย
1.1 กลอน 4 วรรค นับเป็น 1 บท บทหนึ่งมี 4 บาท บาทละ 2 วรรค รวมเป็น 4 วรรค ดังกล่าวแล้ว(1บาทอาจเรียกว่า 1 คำกลอนก็ได้ ) วรรคที่ 1 มีชื่อเรียกว่า วรรคสลับ วรรคที่ 2 มีชื่อเรียกว่า วรรครับ วรรคที่ 3 มีชื่อเรียกว่า วรรครอง วรรคที่ 4มีชื่อเรียกว่า วรรคส่ง
1.2 วรรคหนึ่งๆมี 8 พยางค์(อาจใช้ 7 หรือ 9 พยางค์ก็ได้ ) พยางค์สุดท้ายของวรรคที่หนึ่งให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่2 (บางครั้งอาจอนุโลมให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 2,4 หรือ 6ก็ได้ )
1.3 พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3
1.4พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3 ให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่ 4 (บางครั้งอาจอนุโลมให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 2,4 หรือ 6ก็ได้ )
1.5พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 4 ให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป 1.6 เสียงวรรณยุกต์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน มีดังนี้คือพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2ต้องใช้เสียงจัตวา หรือเสียงเอก หรือเสียงโท และพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 4 นิยมใช้วรรณยุกต์สามัญ หรือเสียงตรีและพยางค์นี้ไม่นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ที่ซ้ำกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 หรือพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3
สัมผัส มีหลายอย่างได้แก่
1. สัมผัสสระ หมายถึงคำที่อยู่ในสระเดียวกันและอยู่ในมาตราเดียวกัน
2. สัมผัสอักษร แท้จริงคือ สัมผัสเสียงพยัญชนะ การที่ใช้ว่าสัมผัสอักษร แทนที่จะใช้ให้ตรงความหมายว่าสัมผัสเสียงพยัญชนะก็เพราะโดยมากในภาษาไทย ตัวอักษรเดียวกันมักออกเสียงเดียวกัน เมื่อเข้าใจข้อยกเว้นแล้ว จะเรียกสัมผัสอักษรต่อไปก็ได้ เพื่อความสะดวก
3.สัมผัสนอก หมายถึง สัมผัสบังคับ สัมผัสบังคับหรือสัมผัสนอกเป็นสัมผัสสระไม่ บังคับสัมผัสอักษรเลย
4. สัมผัสใน หมายถึง สัมผัสไม่บังคับผู้แต่งเติมเข้ามาเองตามความพอใจ สัมผัสในมีทั้งที่เป็นสัมผัสสระและสัมผัสอักษร สัมผัสชนิดหลังนี้ผู้แต่งนิยมกันมาก
แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนการแต่งคำประพันธ์
โดย : นาย กิตติสาร อาริยวัฒน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546