วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ระดับของภาษาและคำราชาศัพท์

ระดับของภาษาและคำราชาศัพท์
ระดับภาษาแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ .....
๑ ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น ๒ ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ .....
๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนให้ความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพระราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย ดังตัวอย่างจากคำประกาศในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าดังนี้ "ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช จงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติทั้งปวง อริราชศัตรูภาบนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็น แก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา" (ภาวาส บุนนาค,"ราชาภิสดุดี." ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.) .....
๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างภาษาระดับมาตรฐานราชการในบทความวิชาการ "บทละครไทยเป็นอีกรูปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทย บทละครของไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดง รูปแบบที่นิยมกันมาแต่เดิมคือบทละครรำ ต่อมามีการปรับปรุงละครรำให้ทันสมัยขึ้นตามความนิยมแบบตะวันตก จึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับรูปแบบละครจากตะวันตกมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย ทำให้การละครไทยพัฒนาขึ้น โดยมีกระ บวนการแสคงที่แตกต่างไปจากละครไทยที่มีอยู่ มาเป็นละครร้อง ละครพูด และละครสังคีต" (กันยรัตน์ สมิตะพันทุ, "การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว."ในบท ความ วิชาการ ๒๐ ปี ภาควิชาภาษาไทย,หน้า ๑๕๘.) : พรประภา พลวิชัย 2/11B - 13/11/2005 10:12
.....

๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถจัดเป็น ๓ ระดับ คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก .....
๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่าการใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็นอย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น ชีวประวัติ เป็นต้น

๒.๒ ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียนนวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว อละมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบ ปะปนปยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยายหรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น

ราชาศัพท์ .....
คำราชาศัพท์ ความหมายของคำราชาศัพท์ตามรูปศัพท์ หมายถึงหลวง หรือ ศัพท์ราชการ ใช้แก่บุคคลที่ควรเคารพนับถือตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ ตลอดจนข้าราชการและบุคคลสามัญทั่วไปด้วย ดังนั้น "ราชาศัพท์ก็คือระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล" เป็นถ้อยคำที่เราใช้ยกย่องเชิดชูบุคคลผู้เจริญด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือเป็นการแสดงความเคารพนับถือ เช่น ต่อพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อเทพเจ้าและต่อพระเป็นเจ้าแม้ในศาสนาอื่นๆเพื่อความเป็นระเบียบทางภาษาของเรานั้นเอง ๑ ที่มาของราชาศัพท์ .....
๑.๑ คำไทย (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย) .....
๑.๒ คำประสม (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม) .....
๑.๓ คำยืมจากภาษาอื่น (คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาอื่น)
.....มีวิธีการดังนี้ ....
.๑ ให้นำคำ "พระ" หรือ "พระราช" นำหน้านาม เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น .....ประเภทเครื่องใช้ทั่วไป เช่น พระราชวัง(บ้าน)พระแสง(ศาสตราวุธ)พระอู่(เปล)พระที่นั่ง(เรือน)พระเก้าอี้ พระแท่น(เตียง)พระที่(ที่นอน)พระยี่ภู่(ที่นอน,ที่นั่ง,ฟูก,นวม) เป็นต้น .....ประเภทอวัยวะต่างๆ เช่น พระเจ้า(ศีรษะเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)พระถัน, พระเต้า(นม) เป็นต้น .....ประเภทเครือญาติ เช่น พระพี่นาง พระน้องนาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลุง พระเจ้าอา เป็นต้น .....ประเภทบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศื เช่น พระพี่เลี้ยง พระนม เป็นต้น .....
๒ ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงรับ ทรงทำ ทรงขอบใจ ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงตัดสิน ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงสั่งสอน ทรงออกกำลังกาย ทรงเล่นกีฬา ทรงขับ(รถยนต์) ทรงถือ ทรงจับ ทรงวาด เป็นต้น .....
๓ ใช้ "ทร" นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยา เช่น ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงช้า(ขี่ช้าง) ทรงเรือใบ(เล่นเรือใบ) เป็นต้น .....
๔ ใช้คำ "ต้น" หรือ "หลวง" ประกอบข้างท้ายคำไทย หรือราชาศัพท์ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น รถหลวง เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น .....
๑.๒ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม การนำคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในภาษาประสมกันทำให้เกิดเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้น นับเป็นวิธีหนึ่งของการสร้างคำขึ้นใหม่ การสร้างคำราชาศัพท์วิธีหนึ่งก็ใช้การนำคำที่มีอยู่แล้วมาประสมกันเช่นเดียวกัน คำที่นำมาประสมกันนั้น อาจเป็นคำไทยประสมกับคำไทย หรือ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น

๑ คำไทยประสมกับคำไทย เช่น รับสั่ง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น
๒ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ คำที่เกิดขึ้นใหม่จะใช้เป็นคำนามและคำกริยา เช่น
๑ ใช้เป็นคำนาม เช่น ห้องเครื่อง(ครัว) เครื่องคาว(ของกิน,กับข้าว) เครื่องหวาน(ของหวาน) เครื่องว่าง(ของว่าง) เครื่องสูง เครื่องต้น(เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์,สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย) ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกษา ข้อพระกร ฝ่าพระบาท ห้องพระสำอาง รัดพระองค์(เข็มขัด) ดวงพระชะตา พานพระศรี(พานหมาก)
๒ ลายพระราชหัตถ์ (จดหมายที่เขียนด้วยมือ) ใช้เป็นคำกริยา เช่น เทียบเครื่อง(ชิมอาหาร) ตั้งเครื่อง(ตั้งของรับประทาน) ลาดพระที่(ปูที่นอน) เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท(ไปหาไปพบ) หายพระทัย(หายใจ) ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร เข้าในที่พระบรรทม สิ้นพระชนม์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไธย(ลงชื่อ) แย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม) เป็นต้น .....๑.๓ คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษา อื่น ภาษาต่างประเทศที่เรารับมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ได้แก่ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร โดยวิธี - เติมคำ "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้าคำภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็น คำนาม - เติมคำ "ทรง" หรือ "ทรงพระ" เข้าข้างหน้าภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็นคำกริยาส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ยืมภาษามลายู ภาษาชวา แต่มีน้อยคำ

๔. วิธีใช้ราชาศัพท์ .....การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีวิธีการใช้ดังนี้ ..........๔.๑ ใช้เป็นราชาศัพท์ได้ทันที เช่น ประทาน ผนวช ทูล ถวาย ประทับ เสด็จ บรรทม ประชวร สวรรคต พิโรธ เป็นต้น ..........๔.๒ ใช้คำ " พระบรม " หรือ " พระบรมราช " นำหน้าคำนามที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติยศ เช่น พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมโอรสาธิราช พระบรมราโชวาท พระปรมภิไธย พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชโองการ พระบรมราชานุญาต ฯลฯ ..........๔.๓ ใช้คำ " พระราช " นำหน้าคำที่มีความสำคัญน้อยกว่าคำที่กล่าวมาในข้อ ๒ เช่น คำนามที่แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น พระราชวงศ์ พระราชบิดา พระราชชนนี พระราชโอรส พระราชธิดา ฯลฯ ..........คำนามทั่วๆ ไปที่มีความสำคัญรองลงมาตลอดจนอาการนามต่างๆ เช่น พระราชวังบางประอิน พระราชเสาวนีย์ พระราโชวาท พระราชปฏิสันถาร พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา พระราชประเพณี พระราชโทรเลข พระราชพิธี พระราชกุศล พระราชดำริ พระราชประสงค์ พระราชปรารภ พระราชานุเคราะห์ ฯลฯ ..........๔.๔ ใช้คำ " พระ " นำหน้าคำนามทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับ .....เครื่องใช้ทั่วๆ ไป เช่น พระที่ พระแท่นบรรทม พระฉาย พระสุคนธ์ พระอู่ ฯลฯ .....อวัยวะส่วนต่างๆ เช่น พระพักตร์ พระศอ พระกรรณ พระหัตถ์ พระกร ฯลฯ .....นามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระโรค พระโชค พระเคราะห์ พระบารมี พระชะตา ฯลฯ .....บุคคลแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ เช่น พระนม พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ (ผู้บวชใหม่) พระกรรมาจาจารย์ (คู่สวด) ฯลฯ ...........๔.๕ ใช้คำธรรมดาที่บอกลักษณะย่อยๆ ให้ชัดเจนไว้หน้าคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น .....ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา .....ขอบพระเนตร " ขอบตา .....ช่องพระนาสิก " ช่องจมูก .....ฝ่าพระหัตถ์ " ฝ่ามือ .....หลังพระชงฆ์ " น่อง .....ฉลองพระหัตถ์ " ช้อน .....ถุงพระบาท " ถุงเท้า .....ห้องพระสำอาง " ห้องแต่งตัว, ห้องสุขา .....ซับพระองค์ " ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ..........๔.๖ ใช้คำ " ทรงพระ " หรือ " ทรงพระราช " นำหน้าคำนามทั่วไป และคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นคำกริยา เช่น .....ทรงพระเมตตา หมายถึง มีเมตตา .....ทรงพระอุตสาหะ " มีอุตสาหะ .....ทรงพระดำริ " มีดำริ .....ทรงพระประชวร " ป่วย .....ทรงพระกรุณา " กรุณา .....ทรงพระพิโรธ " โกรธ .....ทรงพระสรวล " หัวเราะ .....ทรงพระราชนิพนธ์ " แต่งหนังสือ .....ทรงพระราชสมภพ " เกิด ฯลฯ ..........๔.๗ ใช้คำ " ทรง " นำหน้าคำธรรมดาเพื่อให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ......๑. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงขอ ทรงรับ ทรงตัดสิน ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงวาด ทรงถือ ทรงพับ ทรงใช้ ทรงจุด (ธูปเทียน) ฯลฯ ......๒. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย เพื่อใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงช้าง ทรงเรือ ทรงม้า ทรงเรือใบ ฯลฯ ......๓. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่มีลักษณะเป็นสำนวน ทำให้มีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น .....ทรงธรรม หมายถึง ฟังเทศน์ .....ทรงบาตร " ตักบาตร .....ทรงกล้อง " สูบกล้อง .....ทรงพระโอรสมวน " สูบบุหรี่ .....ทรงฉลองพระเนตร " สวมแว่นตา .....ทรงเครื่อง " แต่งตัว .....ทรงเครื่องใหญ่ " ตัดผม .....ทรงเครื่องใหญ่ " ถือไม้เท้า ฯลฯ ..........๔.๘ ใช้คำ " หลวง " และ " ต้น " ประกอบท้ายศัพท์ทั้งที่เป็นคำไทยและคำราชาศัพท์ให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น .....เครื่องต้น (เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงให้และเสวย) พระแสงปืนต้น เรือหลวง รถหลวง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น ฯลฯ .....***หมายเหตุ*** การใช้ " ต้น " และ " หลวง " นั้นต้องสังเกต เพราะคำที่มี " ต้น " และ " หลวง " ประกอบอยู่ด้วยไม่ใช่คำราชาศัพ์ ทุกคำใช้เป็นคำธรรมดาก็มี เช่น ถนนหลวง ทะเลหลวง สนามหลวง ภรรยาหลวง ต้นห้อง ต้นเค้า ต้นคอ ต้นคิด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น